| เช็คสถานะสินค้า |รถเข็น (0)
| สมัครสมาชิกผู้ซื้อ
| แจ้งปัญหาการใช้งาน
เข้าสู่ระบบ

  • เปิดร้าน 6 มิ.ย. 2554
  • ปรับปรุง 7 ธ.ค. 2566
  • ผู้ชมทั้งหมด 3,340,285
  • สินค้าทั้งหมด 226



เรื่องน่ารู้ : ไวรัสซิกาอันตรายอย่างไร ป้องกันได้หรือไม่

ข้อมูลสินค้า

  • สินค้าใหม่
  • 1,777 คน
  • ไม่ระบุราคา ฿
  • 5 ธ.ค. 2566 13:55:29
  • 31 ม.ค. 2559 20:52:13
  • http://bioproduct.fr

จำนวน





รายละเอียดสินค้า


เมื่อวันที่ 28 ม.ค.59 นักวิทยาศาสตร์อเมริกัน ได้เรียกร้ององค์การอนามัยโลก ผ่านวารสารการแพทย์สหรัฐฯว่า องค์การอนามัยโลกควรจะระวังจากบทเรียนการระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลา  เพราะไวรัสซิกา มียุงลายเป็นพาหะนำโรคกำลังเกิดการระบาดในภูมิภาคลาตินอเมริกา และแถบแคริบเบียน อาจระบาดทั่วโลกอย่างรวดเร็ว เพราะไม่มีวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสซิกา  ถึงแม้จะมีการทดลองวัคซีนซิกาบ้างแล้ว แต่อาจพร้อมสำหรับการทดสอบใน 2 ปีข้างหน้า แต่คงต้องใช้เวลาเป็น 10 ปี กว่าจะสามารถนำมาใช้กับคนทั่วไป ถ้าล่าช้า จะส่งผลต่อประชากรโลกได้



ไวรัสซิกาอันตรายอย่างไร
1. ไวรัสซิก้ามียุงเป็นพาหะ ไม่สามารถติดต่อถึงกันระหว่างมนุษย์ได้
2. ผู้ติดเชื้อจะมีอาการคล้ายไข้หวัด คือมีอาการไข้ ปวดศีรษะ และปวดข้อ ซึ่งอาจรวมถึงอาการผื่นผิวหนัง
    และเยื่อตาขาวอักเสบหรือตาแดงด้วย

3. ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกัน
4. อาการจะปรากฏหลังผู้ป่วยได้รับเชื้อภายใน 3-12 วัน
5. เชื้อไวรัสซิกาส่งผลตรงต่อระบบสมอง โดยเฉพาะเด็กในครรภ์ โตช้า แคระแกร็น สมองเล็กไม่ปกติ
6. ร้อยละ 80 ของผู้ได้รับเชื้อจะไม่แสดงอาการ ขณะที่อัตราการเสียชีวิตอยู่ในระดับต่ำ



หนูน้อยชาวบราซิล เกิดจากมารดาที่ได้รับเซื้อไวรัสซิกาขณะตั้งครรภ์ ส่งผลให้สมองเล็กกว่าปกติ



ป้องกันการระบาดของไวรัสซิกาได้ไม่ยาก
1. เก็บบ้านให้สะอาดเรียบร้อย ปลอดโปร่ง ไม่ให้มีมุมอับทึบเป็นที่เกาะพักของยุง

2. เก็บขยะ เศษภาชนะ รอบๆบ้าน ทั้งใบไม้ กล่องโฟม จานรองกระถางต้นไม้ ต้องเก็บกวาด ฝัง เผา หรือทำลาย และ
3. เก็บน้ำ ต้องปิดฝาให้มิดชิดป้องกันยุงลายลงไปวางไข่ เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในบริเวณครัวเรือน โรงเรียน เขตก่อสร้าง สถานีขนส่ง และหอพักรอบมหาวิทยาลัย เป็นต้น โดยให้ดำเนินการอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง


ส่วนผู้เดินทางกลับจากประเทศที่มีการระบาด รวมทั้งหญิงตั้งครรภ์ที่อยู่ในประเทศไทย มีอาการไข้ ออกผื่น ตาแดง หรือปวดข้อ สามารถมารับการรักษาและปรึกษาได้ที่คลินิกเวชศาสตร์การท่องเที่ยวและการเดินทาง สถาบันบำราศนราดูร โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล


เรียบเรียงโดย :  Mamaexpert  Editorial Team
ขอบคุณข้อมูล : www.hindustantimes.com
ขอบคุณข้อมูล : ฝ่ายอาโบไวรัส สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
แท็ก : อันตรายของไวรัสซิกาอาการติดเชื้อไวรัสซิกา
ไวรัสซิกา


                                 คลิกรูปภาพ กดสั่งซื้อบนเวปได้เลยจร้า...


คำค้นหา



ชื่อผู้ถาม : *
เบอร์โทรศัพท์ ผู้ถาม : *
อีเมล์ ผู้ถาม : *
หัวข้อ : *
ข้อความ : *
คำถาม :
เปลี่ยนภาพ
คำตอบ : *